“จริงจังปะเนี่ย ?” ผมถามด้วยความรู้สึกประหลาดใจต่อคู่สนทนาที่ชื่อ “หมู-ศุภกิตติ์ วิเศษอนุพงศ์” เจ้าของอินสตาแกรม เมื่อเขาตอบว่าสาขาที่เขาสำเร็จการศึกษามาคือ “สาขาคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร” ไม่ใช่นิเทศศาสตร์อย่างที่ผมคาดคิดไว้
ความจริงเราสองคนสนิทสนมรู้จักคุ้นเคยกันพอสมควร เพราะเคยทำงานที่เดียวกัน และมีโอกาสลุยงานภาคสนามด้วยกันบ่อยครั้ง
ก่อนแยกย้ายไปตามเส้นทาง ผมมาสายงานเขียนกับ ส่วนเขาก็ยึดโยงเป็น “ช่างภาพ” มือวางอันดับ 1 ประจำทีมฟุตบอลทีมชาติไทยชุดใหญ่ ที่ได้รับความไว้วางใจให้เกาะติดทีมแทบทุกทัวร์นาเมนต์ ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา
เอาเข้าจริง ๆ ผมไม่เคยนั่งคุยหรือนั่งถามเรื่องราวชีวิตการทำงานของเขาอย่างจริงจังเลย ก็คงเหมือนกับใครหลายคนที่รู้จักแค่เฉพาะผลงานภาพถ่ายสวย ๆ ในเพจ “ช้างศึก” แต่กลับไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนที่กดชัตเตอร์และส่งภาพนั้นด้วยมือของเขาเองคือใคร ?
ผมออกไปสัมภาษณ์คนที่ไม่รู้จักมาหลายร้อยครั้ง แต่ในวันนี้โจทย์ของผมคือการสัมภาษณ์คนใกล้ตัวที่ดูเหมือนสนิทเข้าขารู้ใจ
แต่พอยิ่งได้คุยยิ่งได้สนทนาก็พบว่า “มีหลายอย่างที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับเขาคนนี้” พร้อม ๆ กับการได้เข้าใจว่า ทำไมเขาถึงคู่ควรกับการถูกเลือกให้มาเป็น “มือกดชัตเตอร์ทีมกีฬา” ที่คนทั้งประเทศให้ความสนใจอย่าง ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย
เฟรมที่ 1
“ตอนเด็กอยากเป็นทหารอากาศ เคยมีความคิดจะสอบนายร้อยนะ แต่พอถึงช่วงนั้นก็เหมือนตัวเองเปลี่ยนเป้าหมาย เลยไม่ได้ตั้งใจอ่านหนังสือ สุดท้ายก็สอบไม่ติด”
ช่างภาพ คืองานที่ ศุภกิตติ์ วิเศษอนุพงศ์ พูดได้เต็มปากว่าในปัจจุบันนี่คืออาชีพของเขา แต่หากย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นหลายสิบปี “อาชีพตากล้อง” ไม่เคยอยู่ในความคิดของเขาเลยสักนิด
แม้ตัวเขาจะชื่นชอบกีฬาฟุตบอลจนถึงขั้นตัดภาพแอ็กชั่นนักเตะในหนังสือพิมพ์มาแปะเก็บไว้ในสมุด และตอนสมัยเด็ก ๆ เคยเข้าห้องคอมพิวเตอร์เพื่อเสิร์ชภาพนักฟุตบอลมาบันทึกมันลงไว้ในที่จุได้น้อยนิด
“การพลาดเข้าโรงเรียนเตรียมทหารหลังจบ ม.3 เท่ากับว่าคุณต้องศึกษา ม.ปลาย ต่อในระบบเดิม ชีวิตช่วง ม.4-6 ของคุณเป็นอย่างไร ?” ผมถามเขา แต่ด้วยรูปประโยคและคำเรียกที่ไม่ได้สุภาพเหมือนในภาษาเขียน
“ช่วง ม.ปลาย เรากลายเป็นเด็กกิจกรรมเต็มตัว” หมู ศุภกิตติ์ กล่าวเริ่ม “เล่นกีฬา เล่นดนตรีกับเพื่อน ชอบออกไปทำกิจกรรมนอกห้องเรียน เพราะเราอยู่โรงเรียนประจำมาตั้งแต่ ม.1 ก็เลยอยากออกไปใช้ชีวิต ไปทำอะไรอย่างอื่นบ้าง”
“ตอน ม.4 เราสมัครเข้าโครงการศูนย์ข่าวเยาวชนของกระทรวงศึกษาธิการ แม้ว่าสถานที่จะไกลเป็นร้อยกิโลฯ แต่เราก็สนุกและอยากไปทำกิจกรรม เหมือนตัวเองได้ออกไปเที่ยว เราได้เริ่มต้นจับกล้องจริง ๆ ก็ตอนนั้นแหละ”
ศุภกิตติ์ เข้าสมัครโครงการศูนย์ข่าวเยาวชนฯ ในตำแหน่งตัดต่อกับช่างภาพวิดีโอ ซึ่งตอนนั้นพื้นฐานที่เขามีเกี่ยวกับการใช้งานกล้องถ่ายรูปเท่ากับ 0
เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากล้องใช้งานอย่างไร ? อะไรคือ สปีดชัตเตอร์, อะไรคือ ต้องปรับโฟกัสหรือวัดแสงอย่างไร ? เขาไม่รู้อะไรเลยสักอย่าง
“เราไม่มีความรู้เรื่องกล้องเลย เขาก็ให้ลองยืมกล้องฟิล์มตัวหนึ่งมาเล่น ด้วยความที่เราชอบฟุตบอลและมีความสงสัยมาตั้งแต่เด็กแล้วว่าภาพแอ็กชั่นนักเตะที่เขาวิ่งกันอยู่ในสนามเขาถ่ายกันอย่างไร ? เขาถ่ายแบบไหนถึงได้ภาพออกมาเช่นนี้ เราก็เริ่มศึกษาจากตรงนั้น”
“ภาพเซ็ตแรก ๆ ที่เขาลองถ่ายมันใช้ไม่ได้เลย โฟกัสหลุดเละ วัดแสงก็ไม่ได้ ตอนนั้นใช้กล้องฟิล์มด้วย ก็เสียค่าฟิล์มไปหลายม้วนอยู่ กว่าจะได้เข้าใจหลักการถ่ายทำงานของกล้องและวิธีการถ่ายรูป”
ผมคิดในใจระหว่างการสนทนาว่า “นี่สินะ! คงเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นช่างภาพสายกีฬาของเขา” ทว่าทุกอย่างกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น
เพราะเขาเลือกที่จะไปเรียนต่อ เอกคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นสายงานที่เกี่ยวข้องกับการเป็นโปรแกรมเมอร์และการผลิตซอฟต์แวร์
“เราก็เรียนสายวิทย์-คณิต ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าสายศิลป์มีอะไรให้เราเรียนบ้าง เพราะยุคเราความเชื่อที่คนบอกต่อกันมาคือ ให้ไปเรียนสายวิศวกร, ปิโตรเคมี หรือ หมอ สิ ? ถึงจะดี และพื้นฐานเราชอบคำนวณอยู่แล้ว เคยลงแข่งวิชาการสายคอมฯ มาตลอด ก็เลยเลือกเรียนสายเขียนโปรแกรม ทำพวก
“วิชาที่เราเรียนมันไม่ได้มีสอนอะไรเกี่ยวกับการใช้กล้องถ่ายรูปเลย แต่ที่เราถ่ายรูปเป็นมันเกิดจากการที่เราศึกษาเรียนรู้มันด้วยตัวเองนอกห้องเรียน ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เราก็ฝึกเอาเองจากสนามฟุตบอล”
เฟรมที่ 2
“เราเริ่มเข้าสนามครั้งแรกตอน ม.6 เราเคยเขียนใบลาบอกที่โรงเรียนว่าจะมาสอบที่กรุงเทพฯ แต่ความจริงเราแอบหนีเรียนมาดูฟุตบอล เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก ที่สนามศุภชลาศัย เป็นแมตช์ ชลบุรี เอฟซี เจอกับ ชุนนัม ดราก้อนส์”
“เราก็ยอมเดินทางจากกาญจนบุรีเพื่อมาดูให้ได้ เพราะเราไม่เคยดูบอลในสนามมาก่อน มาถึงก็ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ นั่งรถไฟฟ้าก็ไม่เป็น แถมวันนั้นฝนตกด้วย แต่เขาก็ให้ซื้อตั๋วเข้าไปดูในสนาม วันนั้นยังจำได้เลยว่า พี่เจ จักรกริช บุญคำ (อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย) นั่งอยู่ข้าง ๆ เรา แกน่ารักมากแบ่งแตงโมให้เรากินถุงหนึ่งด้วย (หัวเราะ)”
แม้แต่ จักรกริช บุญคำ เองคงคิดไม่ถึงว่า เด็ก ม.ปลาย คนนั้นที่เขาแบ่งแตงโมให้กินจะกลายมาเป็น ช่างภาพประจำทีมชาติไทยในปัจจุบัน เช่นเดียวกับ หมู ศุภกิตติ์ ในตอนนั้นที่เขายังไม่ได้พุ่งเป้าโฟกัสว่าจะต้องไต่เต้าไปให้ถึงจุดที่เป็นตากล้องถ่ายภาพฟุตบอลตัวท็อปของประเทศ
เขาก็แค่พยายามหาเวลาว่างไปดูฟุตบอลไทยในสนามอยู่บ่อยครั้ง เมื่อมีโอกาสได้เข้าเรียนมหา’ลัยในเมืองกรุง
พร้อม ๆ กับหยิบกล้องกับเลนส์ซูมตัวหนึ่งติดตัวไปด้วย เพื่อยิงภาพนักเตะในสนามจากมุมที่นั่งบนอัฒจันทร์มาเก็บไว้ดูเล่น รวมถึงฝึกฝนฝีมือไปในตัว
“เราเข้ามาถ่ายรูปในสนามเหมือนกับแฟนบอลคนหนึ่งที่เสียเงินซื้อตั๋วปกติแล้วอยากถ่ายรูปนักเตะด้วย พอเข้ามาในสนามบ่อยครั้งก็เริ่มรู้จักกับแฟนคลับคนอื่น ๆ ของทีมชลบุรี เอฟซี ตั้งแต่ช่วงเรียนอยู่ปี 2 ”
“มีอยู่วันหนึ่งเราเข้าไปที่ดูเกม อาร์มี ยูไนเต็ด กับ เมืองทอง ยูไนเต็ด มีพี่คนหนึ่งเขาคงเห็นว่าเราถ่ายรูปจากบนอัฒจันทร์บ่อยแหละ แกก็เข้ามาถามเราว่า ‘ครึ่งหลังลงมาถ่ายรูปด้วยกันข้างล่างไหม ? เดี๋ยวพี่พาเข้าไป นั่นแหละคือจุดเริ่มต้นที่เราได้ถ่ายรูปข้างสนาม”
ประสบการณ์ในวันนั้น ทำให้ หมู ศุภกิตติ์ ได้เข้าใจมากขึ้นว่า “ภาพแอ็กชั่นที่ดี” มันมีเรื่องของปัจจัยคุณภาพกล้องและเกรดของเลนส์
ภาพที่เขาถ่ายจึงไม่ได้เป็นภาพที่สวยมากนักเมื่อเทียบกับที่เราเห็นผ่านทางเพจ ช้างศึก ในทุกวันนี้ แต่อย่างน้อยสิ่งที่เขาคิดมาเสมอตั้งแต่ตอนนั้นก็คือ “ทำยังไงก็ให้ได้ภาพออกมาดีที่สุด ต้องใช้งานกล้องและเลนส์ให้เต็มประสิทธิภาพที่สุด”
การลงไปเก็บภาพนัดแล้วนัดเล่าของ “หมู” ทำให้นักฟุตบอลและแฟน ๆ อยาก เข้ามาขอเป็นเพื่อน เพราะอยากจะได้ภาพจากเกมการแข่งขัน
แต่ด้วยความที่เขาไม่ค่อยอยากให้ใครมายุ่งกับ ส่วนตัว ศุภกิตติ์ จึงเปิดเพจที่มีชื่อว่า เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับลงผลงานภาพ
“ถามว่าสาขาที่เราเรียน เราเรียนรู้ไหม ? เราก็เรียนได้นะ เวลามีการบ้านก็ทำแล้วทำเป็นตัวต้นแบบให้เพื่อนลอกได้อ่ะ แต่ช่วงใกล้เรียนจบ เราเริ่มชัดเจนกับตัวเองแล้วว่าอยากเป็นอะไร ?”
“ก็เลยไปปรึกษาอาจารย์แล้วถามว่า ‘จำเป็นไหมที่ผมต้องฝึกงานในสายวิชาชีพที่เรียนอยู่’ อาจารย์ก็บอกคุณอยากฝึกอะไรก็ได้ที่อยากทำ”
“ผมก็บอกอาจารย์ตามตรงว่า งั้นผมขอไปฝึกงานเป็นตากล้องนะ โชคดีที่ได้เจออาจารย์เข้าใจ เพราะเราไม่ได้ฉีกนิดเดียวแต่เราฉีกไปไกลมาก มันคนละศาสตร์กันเลย”
เฟรมที่ 3
ศุภกิตติ์ ตัดสินใจหอบผลงานภาพที่ไม่เกี่ยวกับข้องสายที่เรียนมาไปฝึกงานที่ ในตำแหน่งช่างภาพวิดีโอ ทำงานกับโปรดิวเซอร์ ยุง – พยุงศักดิ์ เสริมสันติวาณิช ซึ่งมันเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต
จากเด็กที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์สู่การฝึกงานที่ต้องออกกองไปถ่ายทำรายการต่าง ๆ ของบริษัท แม้ว่าจะได้ค่าขนมติดไม้ติดมือกลับมาและเป็นประสบการณ์ที่สนุก แต่ความตั้งใจของเขาก็ยังไม่ใช่งานสายช่างภาพวิดีโอ เพราะเขาอยากเป็นตากล้องภาพนิ่งอาชีพมากกว่า
“จริง ๆ อาจารย์ในสาขาเขาก็คงเสียดายแหละ เพราะเราเรียนดี อาจารย์เคยมีข้อเสนอเข้ามาให้เราตั้งแต่เรายังไม่เรียนจบว่า สนใจไปทำงานบริษัทนี้ไหม ทำงานเขียนโปรแกรมซึ่งเราทำได้อยู่แล้ว”
“เงินเดือนสตาร์ทเริ่มต้น 25,000 บาท มันก็เป็นเงินที่เยอะมากสำหรับเด็กจบใหม่ แต่เราก็ปฏิเสธไป เพราะเราชัดเจนกับตัวเองแล้วว่าจะไปเป็นช่างภาพ”
“พอเรียนจบ เราก็ไปเช่าหอพักถูก ๆ และไม่ได้ทำงานประจำที่ไหน ก็รับจ๊อบถ่ายรูปงานรับปริญญาบ้าง มาประทังชีวิตเดือนต่อเดือน แทบจะกัดลิ้นตัวเองกินแล้ว (หัวเราะ)”
“ก็ใช้ชีวิตอยู่อย่างนั้น 5 เดือน จนเพื่อน ๆ เป็นห่วงอยากให้เรากลับไปทำงานสายโปรแกรมเมอร์ แต่เราก็บอกเพื่อนว่า ยังว่ะ ขออีกหน่อย ทุกวันนี้เพื่อนที่ทำสายนั้นบางคนเงินเดือนหลักแสนก็มี แต่เราก็ไม่ได้เสียดายอะไร ครอบครัวก็ให้อิสระในการตัดสินใจกับเราโดยไม่บังคับ”
“แต่งานช่างภาพนิ่งกีฬามันไม่ได้หาง่ายนะ แล้วอีกอย่างเราไม่ใช่สายตรงด้วย แถมอุปกรณ์เราก็ไม่ได้ดีมาก ก็อดทนรอจนวันหนึ่งเห็น พี่เจน (ชาลินี ถิระศุภะ – อดีตตากล้องสโมสรบางกอกกลาส เอฟซี) ประกาศรับสมัครช่างภาพที่สโมสร เราก็ลองไปสมัครดู ก็เอางานที่เราเคยถ่าย เอารูปจากเพจตัวเองส่งไป”
ภาพถ่ายจากวันที่เขาเป็นเพียงแค่ “แฟนบอลคนหนึ่ง” กลายเป็นใบเบิกทางชั้นดีที่ทำให้ บางกอกกลาส เอฟซี (บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในปัจจุบัน) สโมสรชั้นนำของไทย ตกลงจ้าง “ศุภกิตติ์ วิเศษอนุพงศ์” มาเป็นช่างภาพประจำสโมสร
หากมองจากภายนอกในมุมของแฟนบอลดูเหมือนเป็นงานที่น่าอิจฉา เพราะเขาจะได้ใกล้ชิดนักเตะ แถมมีรายได้แน่นอนจากเงินเดือน แต่เขาก็ทำงานกับสโมสรบีจีฯ ได้เพียงแค่ 1 ปีครึ่ง ก็ตัดสินใจลาออก … ด้วยเหตุผลที่ว่า
“ช่วงแรกที่ไปทำงานกับ บีจีฯ เราก็สนุกนะ แต่พอทำไปได้สักพัก มันแค่ไม่ตรงกับความต้องการของเราในแง่ของความท้าทาย อีกอย่างเวลาว่างมันเยอะมาก เพราะสโมสรฟุตบอลเขาจะมีไทม์ไลน์ของเขาคือ ซ้อมตอนเช้า ซ้อมตอนเย็น ช่วงระหว่างวันเราก็ว่างเลย แต่ก็ต้องตอกบัตรเข้างาน”
“อีกอย่างมุมถ่ายมันก็ซ้ำ ๆ เดิม ๆ โดยเฉพาะเกมในบ้าน เราจึงตื่นเต้นทุกครั้งที่มีเกมเยือน เพราะเราจะได้ออกไปเจออะไรแปลกใหม่บ้าง เพราะเราถ่ายจนถึงจุดที่เกมในบ้าน เราไม่สามารถ create อะไรใหม่ได้อีกแล้ว” ช่างภาพผู้เคยปีนไปถ่ายบนจุดสูงสุดของสนาม ลีโอ สเตเดียม บอกกับเรา
“ก่อนลาออกจากงานก็เก็บเงินได้ประมาณ 50,000-60,000 บาท พอออกปุ๊ปเราก็ไปเที่ยวผจญภัยอย่างเดียวเลย คู่กับการรับงานฟรีแลนซ์ถ่ายรูปรับปริญญาเหมือนเดิม ซึ่งมันก็ไม่ได้มีงานเยอะหรอก เดือนหนึ่งมี 2 งานก็หรูแล้ว พยายามใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด”
“เราก็ใช้ชีวิตแบบนั้นอยู่ 11 เดือน จน พี่ตี๋ (ธีรภัทร รัญตะเสวี – อดีตผู้สื่อข่าว โกล ประเทศไทย) โทรมาถามว่า ‘สนใจกลับมาทำงานในอุตสาหกรรมฟุตบอลอีกไหม ?”
เฟรมที่ 4
เมื่อสิ้นเสียงจากปลายสายวันนั้น “ศุภกิตติ์” ก็ไม่เคยออกจากวงการลูกหนังอีกเลยจนถึงวันนี้ แม้งานแรกที่เขากลับมาทำคือ ช่างภาพวิดีโอประจำเว็บไซต์
“เราหนีงานวิดีโอมาตลอด แต่ตอนนั้นคิดแค่ว่าทำไปก่อน ทำเอาตังค์ เพราะมันไม่มีจะกินแล้ว หลังจากทำที่ FourFourTwo Thailand ได้ 5 เดือน เราก็ย้ายมาทำงานเป็นช่างภาพสายข่าวฟุตบอลที่
“ซึ่งช่วงที่เราอยู่เราก็ได้โอกาสจาก ให้ไปถ่ายภาพทีมชาติไทย จำได้เลยว่างานแรกคือ เดือนก.ค. ปี 2016 เป็นฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก รอบ 12 ทีมสุดท้าย โซนเอเชีย แข่งที่กาตาร์”
“สำหรับเรามันกดดันมาก เพราะที่เขาเปิดให้เราดูคือเขาคาดหวังสูงมาก เขาอยากได้ภาพกีฬาในเชิงไลฟ์สไตล์ด้วย แบบชีวิตนอกสนามทุกอย่างต้องได้หมด”
“แล้วทัวร์นาเมนต์แรกของเราในการถ่ายภาพทีมชาติไทยไม่ได้มีเราคนเดียวที่ไป มันมีช่างภาพชื่อดังอีกคนไปด้วย แต่เราขอไม่เปิดเผยชื่อละกัน … เขาถูกจ้างมาถ่ายงานเดียวกันนี้เหมือนเรามีตัวเปรียบเทียบ เราก็เลยกดดันพอสมควร”ตอนเข้าไปในแคมป์แรก ๆ เราก็ไม่ได้สนิทกับนักเตะทุกคน แต่พอเขาเห็นงานที่เราถ่ายออกมามีครั้งหนึ่ง เจ ชนาธิป (สรงกระสินธ์) เคยพูดกับเราว่า ‘ก็เพราะพี่ถ่ายดีไง เขาถึงเอาพี่มาถ่ายตลอด’ เราก็เริ่มมั่นใจ และเริ่มเข้าใจว่านักกีฬาต้องการอะไรแบบไหน”
ศุภกิตติ์ เล่าว่าช่างภาพคนนี้มีชื่อเสียงมากในการถ่ายรูปแอ็กชั่นกีฬา แทบจะถูกยกย่องให้เป็นเบอร์ 1 โดยถ่ายมาแล้วหลายชนิดกีฬา แถมยังไปทำงานพร้อมกับผู้ช่วยตากล้อง ต่างจาก ศุภกิตติ์ ที่ไปคนเดียวแบบโนเนม
“เราคิดว่าเขาต้องถ่ายโหดแน่ เพราะเราก็ชอบดูรายการสัมภาษณ์ทางทีวีเคยเห็นเขาอยู่ พอถึงวันหนึ่งที่ต้องมาแข่งขันกันทำงาน ในใจก็หวั่นเหมือนกันกลัวตัวเองจะไม่รอด เพราะเขาเป็นรุ่นใหญ่ส่วนเราโนเนมมาก ก็เลยคิดว่าโอกาสนี้เราต้องเต็มที่ต้องทำให้ดีที่สุดและไวที่สุด”
“สุดท้ายก็คือทุกวันนี้กราฟิกรูปที่ออกไปแบบเรียลไทม์คือรูปถ่ายจากเราทั้งหมดเลยแบบ 100% ตอนเดินทางกลับมาจากทัวร์นาเมนต์ Plan B เรียกเราไปคุย ผู้ใหญ่เขาก็เห็นถึงความแตกต่างแล้วพูดขึ้นมาว่า ‘รูปที่เราถ่ายมาคือภาพฟุตบอลอย่างที่เขาต้องการ’”
“หลังจากนั้นก็ได้โอกาสถ่ายภาพทีมชาติไทยชุดใหญ่มาตลอด”
เฟรมที่มีความสุข
นับเป็นเวลาเกือบ 6 ปีแล้วที่ “ศุภกิตติ์ วิเศษอนุพงศ์” รักษาตำแหน่งเป็น ช่างภาพประจำทีมฟุตบอลชายทีมชาติไทยชุดใหญ่ ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
แน่นอนว่าความสามารถและคุณภาพของภาพที่เขาถ่าย การทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ ย่อมเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้เขามายืนตรงจุดนี้ได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ศุภกิตติ์ มีวิธีการทำงานและปฏิบัติตัวอย่างไร ? ถึงได้รับการยอมรับจากบรรดาเหล่านักเตะที่ดีสุดของประเทศนี้ยามอยู่ในแคมป์ทีมชาติไทย
“เรามองว่ามันเป็นเรื่องของการวางตัว และเราต้องเข้าใจสถานการณ์ตรงหน้างานด้วยว่าเป็นอย่างไร ? ต้องรู้ว่านักกีฬาต้องการอะไรแบบไหน นักเตะแต่ละคนก็มีรายละเอียด นิสัยใจคอ ไม่เหมือนกัน บางคนอาจเข้าถึงง่าย บางคนอาจเข้าถึงยาก”
“เวลาอยู่ในแคมป์มันมีเหตุการณ์เกิดขึ้นภายในทีม เราก็ต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่ามันสมควรเอาเรื่องพวกนี้ไปเผยแพร่ข้างนอกไหม เช่น ตอนนี้กำลังซ้อมขึ้นแท็คติก เราจะเอาภาพไปลงเป็นสาธารณะได้ไหม ? อันไหนลงได้ลงไม่ได้ ต้องรู้ขอบเขตและเซฟคนในทีมด้วย”
“หรือบางทีมีเรื่องที่ภายในแคมป์ เราก็ต้องคิดให้ได้ว่าเรื่องนี้ควรบอกให้คนภายนอกรู้ไหม ? สุดท้ายเราไปอยู่ตรงนั้นเราก็ต้องรักษาผลประโยชน์ของทีมด้วย ไม่ใช่แค่ถ่ายรูปอย่างเดียวไม่สนใจอะไรเลย”
จากประสบการณ์ที่ผมเคยทำงานร่วมกันกับเขาสมัยที่ผมเป็นผู้สื่อข่าว สิ่งที่ผมชอบในการทำงานร่วมกับ ศุภกิตติ์ คือ เขาเป็นช่างภาพที่ทำการบ้านหนัก เป็นคนที่รอบคอบ วางแผนก่อนทำเสมอ แถมยังทำงานภายใต้ข้อจำกัดเรื่องกรอบเวลาได้ดี
ผมจึงไม่ค่อยแปลกใจยามที่เขาติดตามทีมชาติไทย เขาจะสามารถลั่นชัตเตอร์กดภาพสวย ๆ มาส่งให้แฟน ๆ ได้ชมอย่างทันเวลา
ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากถามและสนใจก็คือ “ในบรรดาภาพถ่ายที่คุณกดมาหลังกล้อง” เขาเคยมีวันที่เฟล ถ่ายไม่ได้ดั่งใจ หรือพลาดช็อตสำคัญไปบ้างไหม ?
“ความผิดพลาดมันเกิดขึ้นได้ทุกวันอยู่แล้วที่เราจะถ่ายไม่ได้ตามเป้าหมายไว้ 100% บางทีความพลาดนั้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นกับกล้องเราอย่างเดียว แต่อาจเกี่ยวข้องกับดวงด้วย เช่น วินาทีนั้นเกิดช็อตสำคัญในสนามพร้อมกัน 4 มุม แต่เรามีคนเดียว แน่นอนว่ามันต้องบางช็อตที่เราเก็บไม่ทัน”
“หรือจังหวะนั้นเป็นช็อตลูกยิงที่สวยงามมาก แต่นักเตะมาบังกล้องเรา ซึ่งเราไม่มีทางได้รูปที่ดีได้เลย ณ วินาทีนั้นหากโดนบัง”
“แต่มันไม่เคยเกิดเหตุการณ์ที่ว่า ถ่ายทั้งเกมแล้วเราไม่ได้รูปดีเลย เพราะเราวางแผนมาก่อนล่วงหน้าไว้ค่อนข้างดี ตั้งแต่ก่อนนักบอลคนแรกเดินลงจากรถบัส จนถึงนักเตะคนสุดท้ายเดินกลับเข้ารถ เราวาง ไว้เลยว่าต้องทำอะไรก่อน-หลังในอีก 3-4 ชั่วโมงต่อจากนี้”
“ฉะนั้นความผิดพลาดของเรามันจึงเป็นความผิดพลาดที่เกิดจากอะไรที่เราควบคุมไม่ได้ ถ้าเป็นสมัยทำงานใหม่ ๆ ก็คงเซ็งมาก บางทีพลาดช็อตทำประตูแมตช์นั้นเราก็นอยด์ทำงานต่อแทบไม่ได้เลย สติหลุด แต่ทุกวันนี้ก็เริ่มเข้าใจมันมากขึ้น ปล่อยวางได้ กลับมาโฟกัสกับงานต่อ เพราะช็อตที่เราพลาดไปแล้วเราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปถ่ายใหม่ได้”
“ก็พยายามไม่เซ็งกับมัน เพราะไม่อย่างนั้นช่วงเวลาที่เหลือของเกมเราจะทำงานได้ไม่ดี ทุกวันนี้เราก็ทำให้ได้ตามมาตรฐานที่ตัวเองตั้งไว้ และไปพัฒนาในเรื่องของความเร็ว ภาพที่ชัวร์กว่าเดิม ซึ่งนอกจากเรื่อง ที่ต้องเป๊ะเพราะเราซีเรียสมากแล้ว เราต้องรู้ด้วยว่านักเตะแต่ละคนสไตล์การเล่นเป็นอย่างไร”
“อย่าง เจ (ชนาธิป สรงกระสินธ์) เราคงไม่สามารถถ่ายภาพ เจ ที่มีคู่แข่งเข้ามารุมแย่งเขา 4-5 คนได้ ถ้าเราไม่รู้ว่าเขาเป็นนักเตะที่ลากเลี้ยงกินตัวเก่ง การรู้จังหวะของเกม รู้จักนักฟุตบอลว่าเล่นกันอย่างไร ก็มีส่วนช่วยให้เราได้ถ่ายภาพที่ดีขึ้น และไม่พลาดจังหวะสำคัญ”
จากจุดเริ่มต้นที่เขาเป็นแค่แฟนบอลที่ถ่ายรูปนักเตะจากมุมบนอัฒจันทร์ ถึงตอนนี้ก็คงต้องยอมรับว่า “หมู ศุภกิตติ์” มาได้ไกลมากในเส้นทางที่ตัวเองเชื่อมั่น จนเขาได้กลายมาเป็นช่างภาพฟุตบอลมือ 1 ประจำทีมชาติไทย
ผู้ที่นักเตะภายในทีมไว้วางใจ และภาพถ่ายของเขาก็สามารถเข้าถึงผู้ชมหลักล้านได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งยามทัพช้างศึกลงแข่งขันแมตช์ใหญ่
“เรามีความสุขทุกครั้งที่เผยแพร่ภาพออกไป หน้าที่ของเราคือต้องถ่ายภาพออกมาให้ดีที่สุดและเร็วที่สุด เพราะเราอยากให้ทุกคนได้เอ็นจอยกับโมเมนต์ของทีมชาติไทยอย่างทันสถานการณ์ ดังนั้นเราจึงต้องตลอดเวลาในการทำงาน”
“ความสุขของเรามันไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับตอนที่นักฟุตบอลทีมชาติเอาภาพถ่ายของเราไปลงในโซเชียลมีเดียหรือวันที่เราได้เห็นภาพที่ตัวเองถ่ายขึ้นบิลบอร์ดโฆษณาในกรุงเทพฯ แต่เรามีความสุขกับทุกครั้งที่มีคนนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นแฟนบอล หรือใครก็ตามที่เขาชอบรูปถ่ายของเราแล้วกดเซฟไว้ เราดีใจตลอด”
“เรายังเคยเข้าร้านอินเทอร์เน็ต เห็นรูปหน้าจอคอมเป็นรูปที่เราถ่าย เราไม่รู้หรอกว่าใครเซฟ แต่เราก็ภาคภูมิใจกับมันแล้ว ไม่ต้องยิ่งใหญ่ขนาดให้ภาพขึ้นบิลบอร์ดหรอก แค่นี้เรามีความสุขแล้ว นี่แหละคือสิ่งที่เราอยากเห็นหลังจากการทำงาน”
UFABETWIN